2/05/2553

การหา Needs Assessment และแนวทางการเขียน

ลักษณะความต้องการจำเป็น ความต้องการจำเป็นขององค์กร

วิธีการ                                        Focus Group Discussion

หัวข้อ                                         หลักสูตรอบรมส่งเริมวัฒนธรรมการเรียนรู้
                                                   บนรากฐานพุทธปรัชญา



ที่มาของหลักสูตร

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. หมวด มาตรา และหมวด มาตรา ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ”จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา จากปัจจัยข้างต้นทำให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องตระหนักถึงและร่วมมือร่วมใจเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ในปี พ.ศ. 2552 นี้ สำนักงานคณะอนุกรรมการอุดมศึกษา รณรงค์ให้ปี แห่งการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2556) และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551

ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา จัดการบนพื้นฐานพุทธวิทยาการศึกษา ใช้คุณธรรมคือ ไตรสิกขา เป็นพื้นฐานการผลิตบัณฑิตควบคู่ไปกับวิทยาการเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งคุณลักษณะผู้เรียนตามความมุ่งหมายแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ศีล (ดี) สมาธิ (สุข) และปัญญา (เก่ง) (มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, มปป : 1) ฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงต้องเรียนวิชาเฉพาะทางพระพุทธศานา จำนวน 30 หน่วยกิจ ทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน

เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายการจัดการศึกษาแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าและผู้ช่วยฝ่ายต่าง ๆ จำนวน 6 รูป\คน ได้แก่ฝ่ายแผนและงบประมาณ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกิจการนักศึกษา ฝ่ายทะเบียนและวัดผล และฝ่ายจัดการศึกษา จึงจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามหลักสูตร โดยปฎิบัติตามขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระบุความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และ กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็น (สุวิมล วิองวานิช,2548:83) ได้ความจำเป็น คือ “ส่งเสริมการเรียนรู้บนรากฐานพุทธปรัชญา” จากการวิเคราะห์แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา คือการจัดอบรม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด

ด้วยเหตุนี้ จึงพัฒนาหลักสูตรและจัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษด้านการเรียนรู้ตามปริบทของการจัดการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม โดยอย่างยิ่งนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนในระบบการจัการศึกษาที่ต้องเรียนกับพระภิกษุสงฆ์ และจะต้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาตลอดหลักสูตร จะได้ปรับตัวกับวิธีการเรียนและแนวทางปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในมหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมถึงการตระหนักในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมด้วย ในฐานะที่ศึกษาวิชาพระพุทธศานาและใกล้ชิดกับศาสนา
 
 

2 ความคิดเห็น:

onn กล่าวว่า...

ดีจังเลย

ผู้แต่ง กล่าวว่า...

ขอบคุณครับที่แสดงความคิดเห็น