สวัสดีครับนักศึกษา
ขอให้นักศึกษาศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย อายุ 3-5 ปี ซึ่งเป็นข้อมูลแรกเริ่มก่อนที่จะทำการ เขียนหลักสูตรของสถานศึกษาต่อไป
สิ่งที่นักศึกษาจะต้องศึกษาในหลักสูตร ก็คือ
มาตรฐาน 12 มาตรฐาน
- คุณลักษณะที่พึงประสงค์ 4 ด้าน
- ตัวบ่งชี้ (นักศึกษาต้องสร้างขึ้นมาเองจากมาตรฐาน)
- สภาพที่พึงประสงค์ ตามอายุ (เลือกอายุปีใดปีหนึ่ง ระหว่าง 3-5 ปี)
- สาระการเรียนรู้ได้แก่ สาระที่ควรรู้ มีในหลักสูตร และประสบการณ์
สำคัญ (ดูที่มาตรฐานและตัวบ่งชี้)
- กิจกรรม (ดูตัวอย่างในหลักสูตร)
หมายเหตุ
1. สิ่งที่นักศึกษาจะต้องทำเอง คือ ตัวบ่งชี้
2. นักศึกษา DOWNLOAD ตารางการวิเคราะห์หลักสูตรได้ที่นี่
3. ส่ง14 สิงหาคม 2554 นะครับ
8/07/2554
3/01/2554
2/01/2554
11/19/2553
เปรียบเทียบหลักสูตร 44 กับ 51
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีสาระสำคัญอะไรบ้างที่คุณครู และ
บุคลากรทางการศึกษาควรรู้และทำความเข้าใจก่อนนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
บุคลากรทางการศึกษาควรรู้และทำความเข้าใจก่อนนำหลักสูตรแกนกลางฯ ไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
11/14/2553
รูปแบบของหลักสูตร
Tyler’s Rational – Linear Approach
Tyler ได้ยืนยันถึงคำถาม 4 ข้อที่นักพัฒนาหลักสูตรมักถามอยู่บ่อย ๆ ซึ่งคำถามเหล่านี้จะเกี่ยวกับการเลือกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งแสดงได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
จุดประสงค์ทางการศึกษาที่โรงเรียนต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง?
2. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
จะเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเหล่านั้น?
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง?
4. การประเมินผล
จะประเมินผลได้อย่างไรว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิผล?
ซึ่งจากคำถามของ Tyler ทั้ง 4 ข้อนี้ Tyler เชื่อว่า จะต้องมีการถามอย่างเป็นลำดับ คำตอบของคำถามต่อมาจะเกี่ยวข้องกับคำตอบของคำถามที่มีมาก่อน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้น (rationale – linear) นอกจากนั้น Tyler ยังได้วางกรอบในการตอบคำถามของเขาไว้อย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง?
ก็คือการกำหนดวัตถุประสงค์ Tyler แนะนำว่า นักพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มค้นหาจุดประสงค์ทางการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากสามแหล่ง
แหล่งข้อมูลนักเรียน : นักพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มต้นค้นหาวัตถุประสงค์ทางการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการและผลประโยชน์ของผู้เรียน ความต้องการทั้งหลายควรได้รับการศึกษา ทั้งด้านการศึกษา สังคม อาชีพ ความต้องเชิงกายภาพ จิตวิทยา และนันทนาการ Tyler แนะนำวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตของครู สัมภาษณ์นักเรียน สัมภาษณ์ผู้ปกครอง การใช้แบบสอบถามและเทคนิคการแบบสอบอื่นๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้นักพัฒนาหลักสูตรจะสามารถกำหนดจุดประสงค์ที่มีศักยภาพได้ชุดหนึ่ง
แหล่งข้อมูลสังคม: ขั้นตอนต่อไปในการกำหนดวัตถุประสงค์ตามที่ Tyler แนะนำคือการวิเคราะห์สภาพชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและสังคมในระดับกว้าง โดยนักพัฒนาหลักสูตรต้องแบ่งแง่มุมการศึกษาออกไปหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพ ครอบครัว การพักผ่อนหย่อนใจ อาชีพ ศาสนา การบริโภค และบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีต่างๆ จากความต้องการของสังคมจะทำให้ได้วัตถุประสงค์ที่มีศักยภาพจำนวนมาก ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ความสามารถในเชิงสังคมวิทยาอย่างชาญฉลาด หลังจากพิจารณาแหล่งข้อมูลจากสองแหล่งนี้แล้วก็จะได้จุดประสงค์ที่ยาวขึ้น
แหล่งข้อมูลจากข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา : จากนั้นนักพัฒนาหลักสูตรควรหันไปมองที่ตัวศาสตร์หรือเนื้อหาวิชา มีหลักสูตรต่างเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เป็นหลักว่าจุดประสงค์ไหนสำคัญ จากแหล่งข้อมูลทั้งสามที่กล่าวมาแล้ว นักพัฒนาหลักสูตรจะได้ขอบเขตของจุดประสงค์ทั่วไปแต่ยังขาดความกระชับ และขอเรียกว่าเป้าหมายเรียนการสอน เป้าหมายการเรียนการสอนเหล่านั้นอาจเกี่ยวข้องโดยตรงเฉพาะศาสตร์หรือหลายศาสตร์
จากแหล่งข้อมูลทั้ง 3 แหล่ง จะได้วัตถุประสงค์จำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ชั่วคราวดังนั้นจะต้องผ่านการกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ ปรัชญาการศึกษาและ จิตวิทยาการศึกษา เมื่อผ่านการกลั่นกรองครั้งที่สองก็จะได้จุดประสงค์ที่สมบูรณ์ ไทเลอร์อธิบายว่าจุดประสงค์ทางการศึกษา หมายถึง เป้าหมาย(Goal ) เป้าหมายการศึกษา ( Educational ends) จุดหมายการศึกษา ( Educational purposes ) และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม( Behavior Objective
การกลั่นกรองโดยใช้ปรัชญาการศึกษา : Tyler ได้แนะนำว่าแต่ละโรงเรียนควรจะร่วมกันสร้างปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนและของสังคม มีการกำหนดค่านิยมที่แสดงออกถึงความสำคัญ ซึ่งเน้นเป้าหมายของประชาธิปไตย ดังนี้
1. ตระหนักถึงความสำคัญของมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือก เชื้อชาติ สัญชาติ สังคม และสถานะทางเศรษฐกิจ
2. ให้โอกาสแก่ทุกกลุ่ม ได้ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกกิจกรรม
3. กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายแทนที่จะมีเรียกร้องบุคลิกเพียงแบบเดียว
4. ศรัทธาและเชื่อมั่นในสติปัญญา ในฐานะวิธีจัดการกับปัญหา แทนที่จะจัดการกับปัญหาโดยใช้อำนาจเผด็จการหรือคณาธิปไตย
การกลั่นกรองโดยใช้จิตวิทยา: ขั้นตอนต่อไปคือการกลั่นกรองทางจิตวิทยา การดำเนินการในขั้นตอนนี้ ครูต้องมีความชัดเจนว่าหลักการเรียนรู้ที่พวกเขาเชื่อนั้น ฟังดูมีเหตุผล Tyler กล่าวว่า “จิตวิทยาการเรียนรู้ ไม่ได้มีเพียงข้อค้นพบเฉพาะอย่างเท่านั้น แต่มันรวมถึงการสร้างทฤษฎีการเรียน ที่ช่วยให้แนวทางเกี่ยวกับธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขอะไร มีกลไกใดทำงานได้บ้าง” โดยอธิบายว่า การทำงานในขั้นตอนนี้จะมีประสิทธิผล ถ้านักพัฒนาหลักสูตรได้รับการอบรมอย่างเพียงพอในเรื่องของจิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ
Tyler อธิบายความสำคัญของการกลั่นกรองทางจิตวิทยาว่า
1. สามารถช่วยให้เราจำแนกการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่คาดหวังได้ว่าเป็นผลมากจากกระบวนการเรียนรู้ ออกจาก การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นผลมาจากการเรียนรู้ได้
2. สามารถช่วยให้เราจำแนกเป้าหมายที่เป็นไปได้ ออกจากเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุผลได้สำหรับผู้เรียนในวัยนั้น
3. ให้แนวคิดบางอย่างแก่เราเกี่ยวกับความยาวของช่วงเวลาที่ต้องใช้ในการบรรลุจุดประสงค์หนึ่งและระดับอายุที่ความพยายามนั้นจะมีประสิทธิผลที่สุด
หลังจากผ่านการกลั่นกรองครั้งที่สองแล้วจุดประสงค์ทั่วไปที่กำหนดไว้ก็จะถูกลดทอนลงเหลือเพียงจุดประสงค์ที่สำคัญและเป็นไปได้ ซึ่งมักจะเขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นจุดประสงค์การสอนในชั้นเรียนต่อไป
2. จะเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเหล่านั้น?
หลังจากการเลือกวัตถุประสงค์แล้ว นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องตัดสินในการตอบคำถามข้อที่ 2 เกี่ยวกับการเลือกสิ่งที่เรียกว่า “ประสบการณ์การเรียนรู้” ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เขียนไว้ในลักษณะการวางแผนหลักสูตรและจัดให้นักเรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์
Tyler ได้ยืนยันว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ต้องได้รับการเลือกให้นักเรียนมีโอกาสเพียงพอที่จะสร้างประสบการณ์และเกิดความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ตามความต้องการของผู้เรียน และต้องให้ผู้เรียนได้รับความพึงพอใจ ซึ่ง Tyler ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1. ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2. กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้นั้น ควรจะทำให้ผู้เรียนพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3. กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรอยู่ในข่ายที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้
4. กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้าน ของผู้เรียนอาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
5. กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆข้อได้
ในการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ Tyler ได้แนะนำว่า ครูควรให้ความสนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทักษะการคิด
2. การช่วยให้ได้รับข้อสนเทศมา
3. การช่วยพัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4. การช่วยพัฒนาประโยชน์หรือความสนใจของผู้เรียน
3. จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง?
ในการตอบคำถามข้อที่ 3 Tyler ได้แนะนำว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ควรได้รับการจัดให้ถูกต้องและชัดเจน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือจะต้องเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน และ Tyler เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพถ้าจัดไว้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การเรียนรู้ควรมีลักษณะเป็นแนวตั้ง เริ่มจากง่ายไปหายาก และควรจะเสริมแรงโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในรายวิชาอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน และควรเน้นในประเด็นดังต่อไปนี้
นอกจากนั้น Tyler ยังเน้นเกี่ยวกับการพิจารณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึง
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ความสัมพันธ์ในแนวตั้ง ขององค์ประกอบหลักของหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้น เช่น ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2. การจัดลำดับ (Sequence) หมายถึง ความสัมพันธ์แนวตั้งของส่วนประกอบของหลักสูตร จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ควรจัดโดยมีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. การบูรณาการ (Integration) หมายถึง ความสัมพันธ์ในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของหลักสูตร จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา หรือรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
เพราะจะทำให้มีการสร้างประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้เรียนที่ต้องการไปสู่ขอบเขตของรายละเอียดในแต่ละครั้ง และมีความเป็นไปตามลำดับ ผู้เรียนก็จะสามารถบรรลุความสำเร็จ มีความเข้าใจในแนวคิดการบูรณาการในรายละเอียดใหม่เพิ่มขึ้น
4. จะประเมินผลได้อย่างไรว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิผล?
ความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลของ Tyler จะกำหนดความเหมาะสมระหว่างผลของวัตถุประสงค์เฉพาะและผลของผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง Tyler ได้เน้นถึงการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนและการปฏิบัติที่ไม่ใช่การทดสอบเท่านั้น แต่ยังมีการใช้เทคนิคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน
เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สมควรจะมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
2. วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำเกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
3. ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างเหมาะสม
4. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้
4.1 ความเป็นปรนัย (Objectivity)
4.2 ความเชื่อมั่น (Reliability)
4.3 ความเที่ยงตรง (Validity)
ข้อดี
1. เป็นวิธีการที่ไม่มีความซับซ้อน มีความเป็นเส้นตรง (linear)
2. ใช้ปรัชญาการศึกษาและจิตวิทยาการศึกษาในการกลั่นกรองวัตถุประสงค์
3. เน้นการรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
4. ใช้การประเมินแบบ formative evaluation และมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย
5. ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใช้หลักเกณฑ์ คือ ความต่อเนื่อง การจัดลำดับ และการบูรณาการ
ข้อจำกัด
1. จะไม่มีการบอกวิธีการเลือกเนื้อหาว่ามีวิธีอย่างไร และไม่ได้บอกถึงการใช้แหล่งข้อมูลว่ามีวิธีการใช้อย่างไร
2. พูดในมุมมองที่กว้างเกินไป
3. ขาดความยืดหยุ่น
Taba’ s approach
Taba ได้ให้ทัศนะเรื่องการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ “การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่ต้องการความคิดที่เป็นระบบและเป็นลำดับขั้นตอนและมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบทุกลำดับขั้นตอนของการตัดสินใจและวิธีการที่ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการตัดสินใจได้ผ่านการพิจารณาที่สอดคล้องเหมาะสม” ในการพัฒนาหลักสูตรจึงควรวางรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อความถูกต้องเหมาะสมและสะดวกรวดเร็วเมื่อทำการสร้างหลักสูตร
Taba มีพื้นฐานความเชื่อ และเป้าประสงค์ เกี่ยวกับการคิด ดังนั้น Taba ได้ตั้งสมมติฐานในการคิด 3 ข้อ
1. การคิดสามารถสอนได้
2. การคิดเป็นการกระทำระหว่างบุคคลและข้อมูล
3. กระบวนการคิดเกิดเป็นขั้นตอน
รูปแบบของ Taba จะเน้นการมีส่วนร่วมของวัสดุในห้องเรียน ภาพถ่าย แผนผัง สามารถใช้เป็นการอ้างอิงในการเรียนการสอน โดยที่นักเรียนนำมาเป็นรูปแบบการคิดเชิงนิรนาม เป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้อ้างอิงได้อย่างใกล้ตัว และเป็นการสอนวิธีคิดอย่างเป็นขั้นตอน
Step and Stage
ถึงแม้ว่า แนวคิดของทาบาจะมีพื้นฐานมาจากแนวคิด 4 ขั้นของ Tyler rationale แต่
ทาบาได้เพิ่มเป็น 7 ขั้น ดังนี้
1) สำรวจปัญหาความต้องการจำเป็นต่าง ๆ ของสังคม
2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3) คัดเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสอน
4) จัดลำดับเนื้อหา
5) คัดเลือกประสบการณ์เรียนรู้
6) จัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
7) กำหนดวิธีการประเมินผลและแนวทางปฏิบัติ
กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร ทาบา(Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. วินิจฉัยความต้องการ: สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3. คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จากจุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4. จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง นอกจากนั้น Taba ยังเน้นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน เพื่อเพิ่มระบบการคิดเชิงนิรนัยของนักเรียนโดยครูเป็นผู้ตั้งคำถามนำ เพิ่มเนื้อหาเพื่อดึงข้อมูลจากตัวนักเรียนได้ รวมทั้งสามารถรับรู้พื้นฐานของแต่ละคนได้ และเชื่อมองค์ความรู้ของแต่ละคนเข้าหากัน
7. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร และเน้นประเมินผลการคิดของนักเรียนเชิงสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาต่าง ๆ มีความยืดหยุ่น ตรวจสอบได้ ทั้งในระดับการวางแผน การออกแบบ หลักสูตรประสบการณ์
ข้อดี
1. สามารถนำแนวคิดของ Taba ไปใช้โดยให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่ Taba เสนอไว้
2. เครื่องมือที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิด ที่เน้นการคิดแบบอุปนัย
3. หลักสูตรมีความเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรแม่บท
4. ให้ประสบการณ์ทั้งด้าน Cognitive Domain และ Affective Domain
5. สามารถอธิบายข้อแตกต่างของ planed curriculum , enacted curriculum และ experience curriculum
6. ช่วยขยายกรอบแนวคิดของ Tyler
ข้อจำกัด
1. หลีกเลี่ยงแนวคิดทางการเมือง
2. การสอนที่เน้นการคิดแบบอุปนัย ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก อาจจะทำให้สอนไม่ได้ครบทุกเนื้อหา
Walker’s Deliberative Approach
Deeker Walker มีความเชื่อว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในกระบวนการการพัฒนา การที่จะได้หลักสูตรที่ดี ต้องอาศัยความคิดความเห็นจากบุคคลหลายฝ่าย คณะผู้ร่างหลักสูตรต้องมีความเข้าใจในความซับซ้อนนั้น รูปแบบของการทำหลักสูตรที่ปฏิบัติจริง ชื่อว่า Naturalistic Model ซึ่งมี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จุดเริ่มต้น ( Platform )
เป็นขั้นพื้นฐานที่รวบรวม มโนมติ ความเชื่อ ทฤษฎี เป้าหมาย มโนภาพ วิธีการ โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุก ๆ ด้าน เข้ามาพูดคุย อภิปราย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวของผู้เรียน โดย Walker ยึดหลักแนวคิดของ Schwab ที่ว่าคนมารวมกลุ่มกันทำงานเพราะมีความเชื่อและค่านิยมเดียวกัน แล้วตกลงร่วมกัน โดยมีการพูดคุย อภิปราย เกี่ยวกับสิ่งที่หลักสูตรควรจะเป็น ตามความเชื่อของ Walker สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นขั้นนโยบาย (Platform) ได้แก่ ความเชื่อ มโนทัศน์ ทฤษฎี จุดมุ่งหมาย ภาพลักษณ์ กระบวนการต่าง ๆ ในขั้นนี้จะมีการอภิปรายถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ได้ความเชื่อออกมา
ระยะที่ 2 การดำเนินการพิจารณาอย่างรอบคอบ (Deliberation)
จากข้อมูลที่ได้ในขั้นที่ 1 ในขั้นนี้จะเป็นการจำแนกประเด็นข้อเท็จจริง มาพิจารณาอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน มีการชั่งน้ำหนักความสำคัญว่าตัวเลือกไหนควรจะเลือก โดยจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกประเด็น ผู้ที่เข้าร่วมอภิปรายจะต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย มีการระบุข้อเท็จจริงที่ต้องการสำหรับการดำเนินการและจุดหมายปลายทาง มีการกำหนดทางเลือก พิจารณาลำดับขั้นและตัวเลือก กำหนดน้ำหนัก ลำดับความสำคัญ พยายามเลือกสิ่งที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด และสามารถชี้แจงรายละเอียดได้มากที่สุด ซึ่งในขั้นตอนนี้จะทำให้ได้ course of action
ระยะที่ 3 การออกแบบ (Design)
เมื่อได้ข้อตกลง ความเชื่อที่เพียงพอแล้วเกี่ยวกับ ความเชื่อ ความเป็นเหตุเป็นผลของปัญหา และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติการโดยไม่มีการตัดสินใจทางเลือกอีกแล้ว กิจกรรมที่ทำให้บรรลุผลในระยะนี้ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ของหลักสูตรซึ่งอาจรวมไปด้วย วิชาเฉพาะ การสอน อุปกรณ์การสอน หรือกิจกรรมกลุ่มที่สามารถแนะนำได้ จะทำให้ได้ planed curriculum
ข้อดี
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร Walker พยายามที่จะทำให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริงระหว่างการพัฒนาหลักสูตร
2. วิธีการของ Walker พยายามแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการวางแผนหลักสูตร
3. คำอธิบายของ Walker แต่ละขั้นจะเป็น guide line ในการนำไปปฏิบัติใช้
4. มีการใช้ deliberation ในการระบุสถานการณ์ และให้น้ำหนักของปัญหาตลอดจนสิ่งที่เกี่ยวข้องที่อาจศึกษาได้หรืออาจจะศึกษาไม่ได้ในการวางแผนหลักสูตร
ข้อจำกัด
1. การใช้วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ ๆ เท่านั้น เพราะมีการใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลักสูตร หรือเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้องใช้งบประมาณมาก และเวลามากเกินไป ในกรณีที่ต้องการใช้สร้างหลักสูตรในโครงการเล็ก ๆ ก็อาจจะไม่มีความคุ้มทุนหรือไม่มีความสะดวกถ้าใช้วิธีการนี้
2. ในช่วงของการพิจารณาหรือการเลือกข้อมูลนั้น จะไม่มีเกณฑ์หรือ Guideline แนะนำ แต่ละกลุ่มจะมีการคิดเอง ทำกันเอง
2. วิธีการของ Walker เน้นทิศทางไปสู่เฉพาะการออกแบบ curriculum แต่ไม่ได้อธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นหลังจากออกแบบ curriculum แล้ว
Eisner’s Artistic Approach
Eisner ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร จะมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler) คือมีลักษณะเป็นเส้นตรง Eisner (Elliot W.Eisner) ได้แสดงให้เห็นถึงความจริงทางสังคม ว่ามีลักษณะดังนี้
1. negotiated ( ต่อรองกันได้ หรือเจรจากันได้ )
2. subjective (เป็นอัตตวิสัย )
3. constructed ( ผู้เรียนสร้างความเข้าใจด้วยตัวของตัวเอง )
4. multiple ( มีความหลากหลาย )
การพัฒนาหลักสูตรตามหลักของ Eisner มีแนวคิดว่าคนแต่ละคนสามารถสร้างความหมายได้หลายวิธี ผู้ที่เข้าไปตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรก็เหมือนกับศิลปินที่จะต้องเลือกอะไรมากมายจึงจะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่ง การพัฒนาหลักสูตรตามหลักของ Eisner นี้จะมีระยะที่ไม่ต่อเนื่องกัน สามารถทำระยะใดก่อนก็ได้ ซึ่งประกอบด้วยระยะต่าง ๆ 7 ระยะ ดังนี้
1) Goal and their priorities ในระยะนี้ Eisner เห็นว่าเป้าหมายอาจไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้เสมอไปก็ได้ และกิจกรรมบางกิจกรรมอาจไม่จำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าก็ได้ แต่มันสามารถเกิดขึ้นหลังจาการเรียนการสอนก็ได้ โดยเขาให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ที่มีลักษณะเฉพาะน้อยลง เพราะจุดประสงค์ลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้เอง และการกำหนดเป้าหมายจะต้องดำเนินการโดยผู้ส่วนร่วม ด้วยวิธีการเสนอแนวคิด และการอภิปราย โต้แย้ง ประกอบการพิจารณา ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
2) Content of the curriculum Eisner ให้ข้อสังเกตในการเลือกเนื้อหา ที่จะนำมากำหนดไว้ในหลักสูตร ซึ่งคล้ายกับแนวคิดของ Tyler และ Walker ที่สามารถกำหนดเนื้อหาได้จาก 3 แหล่ง ดังนี้
1. จากความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
2. จากความสนใจและความต้องการของชุมชน
3. จากธรรมชาติของเนื้อหาวิชานั้น ๆ นั่นเอง
รวมทั้งจะต้องคำนึงถึง Null Curriculum ด้วย
3) Type of learning opportunities ซึ่ง Eisner ได้เสนอแนวคิด ไว้ ดังนี้
1. ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านกระบวนการวิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย อันจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้เรียน และส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4) Organization of learning opportunities แนวคิดสำคัญของ Eisner ประกอบด้วย
1. สร้างโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ครูจะต้องมีวิธีการสอนที่หลากหลาย และเน้นการนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งในวิธีการสอนจะต้องประกอบด้วย สื่อ และกิจกรรมที่หลากหลาย ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน และเกิดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้ในรูปแบบเครือข่าย (Spider Web) ได้โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในแบบเชิงเส้น (linear) เท่านั้น
2. กระบวนการของโอกาสในการเรียนรู้มีความสำคัญกว่าผลการเรียนรู้
3. ครูมีหน้าที่อำนวยความสะดวก สร้างความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ได้เต็มตามศักยภาพและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
5) Organization of content area ขอบเขตเนื้อหาอาจได้จากความหลากหลายทางสังคม นโยบาย และภูมิปัญญาของปัจเจกบุคคล เพื่อนำมารวบรวม ผสมผสาน และบูรณาการเข้าด้วยกัน
6) Mode of presentation and mode of response การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบในการตอบสนอง ดังนั้น หากผู้สอนเลือกรูปแบบการนำเสนอแบบถามตอบ ผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้จากการฟังคำถาม คิด และนำเสนอคำตอบที่ได้จากการคิด เป็นต้น ดังนั้น ผู้สอนจึงควรมีทางเลือกที่หลากหลายในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการตอบสนองที่หลากหลายเช่นเดียวกัน อันจะนำมาซึ่งทักษะที่เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นของผู้เรียน
7) Types of evaluation procedures Eisner ได้เสนอแนะแนวทางของการวัดและประเมินผลไว้ ดังนี้
1. การวัดผลไม่ใช่กระบวนการสุดท้าย ในการพัฒนาหลักสูตร
2. การวัดผลเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. การประเมินตามสภาพจริง เป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ตลอดระยะของการเรียนการสอน
ข้อดี
1. สามารถใช้ได้ถึง Enact Curriculum และ Experience Curriculum
2. การพิจารณาเนื้อหา คำนึงถึง Null Curriculum
3. วัตถุประสงค์ไม่เป็น Highly Objective จนเกินไป
4. ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Plan Curriculum กับ Enact Curriculum ได้อย่างชัดเจน
5. ใช้การประเมินที่หลากหลาย
6. ใช้รูปแบบในการสอนที่เหมาะกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้สามารถตอบสนองออกมา ได้อย่างหลากหลาย
7. เน้นการบูรณาการ (Integrate) เท่าที่จะเป็นไปได้
8. ครอบคลุมองค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 4 องค์ประกอบ
ข้อจำกัด
1. มีการกำหนดขั้นตอนที่ไม่ตายตัว ยากต่อการนำไปปฏิบัติตาม
2. ไม่มีการกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจน อาจเกิดความสับสนในระหว่างการสร้างหลักสูตรได้
3. การสอนแบบ spider web นั้นไม่มีวิธีสอนที่ชัดเจน ทำให้ครูต้องมีความคิดที่หลากหลายที่ต้องพัฒนา Mode of Presentation เพื่อให้ผู้เรียนเกิด Mode of Response ได้ดี
Curriculum Theorizing
Curriculum theorizing เป็นกระบวนการทั่วไปที่มีลักษณะเป็น ongoing process ซึ่งประกอบด้วย general process ดังนี้
1. เมื่อสัมผัสกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะพบว่ามีอะไรที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
2. พยายามที่จะหาจุดซ้ำหรือประเด็นร่วมที่กำหนดความเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นภาพรวมของกลุ่ม
3. หาแบบที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับบริบทของการสอน
กระบวนการสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยการรวบรวมความคิดและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ดังนั้นความคิดและตัวแปรต่าง ๆ จึงมีความหลากหลายและซับซ้อน เนื่องจากหลักสูตรไม่สามารถยึดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเป็นหลักได้ จึงต้องมีการผสมผสานแนวคิด (Eclecticism) ในการสร้างทฤษฎีหลักสูตร จะต้องมีการตอบคำถามใน 2 ลักษณะ คือ
1. คำถามในลักษณะ Open – ends ซึ่งเป็นคำถามที่เปิดกว้างมองได้หลายแง่มุม
2. คำถามในลักษณะ problematic เป็นคำถามที่หาข้อยุติได้ยากที่สุด
Curriculum Theorizing กับนักพัฒนาหลักสูตร
ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างทฤษฎีหลักสูตร จากความแตกต่างระหว่างทฤษฎีหลักสูตรกับทฤษฎีการสร้างหลักสูตร ปัญหาพื้นฐานก็คือ การสร้างทฤษฎีจะยึดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งไม่ได้ เพราะทั้งการสร้างทฤษฎีก็ล้วนมีบทบาทสำคัญที่เหมาะสม คือ ในขณะที่ทฤษฎีมุ่งเน้นที่รูปแบบทั่วไป การสร้างทฤษฎีเน้นไปยังสถานการณ์เฉพาะเจาะจง หลักสูตรควรจะสร้างจากผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรโดยตรง ได้แก่ ครูผู้สอน นักวิชาการ และสมาชิกของชุมชน ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องมีลักษณะ 3 ประการ คือ
1. มีความรู้สึกไวต่อรูปแบบที่ปรากฏขึ้นในสภาวะการณ์
2. พยายามพิจารณารูปแบบและประเด็นที่เหมือนกันออกเป็นลักษณะรูปแบบร่วมกัน
3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเข้ากับบริบทการสอนของบุคคล
ในฐานะที่จะเป็นนักหลักสูตร (Becoming better curriculum specialist) จะต้องเป็นผู้วางแนวทาง เป็นผู้นำเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะทั้งสามอย่างนี้ จะได้จัดทำหลักสูตรได้ดีและเหมาะสมกับบริบทนั้นมากที่สุด เพราะ การสร้างทฤษฎีไม่ง่ายเพียงแค่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ แต่ต้องมีว่าทำอย่างไรจึงจะมีอะไรที่เด่นชัดให้ประจักษ์โดยไม่ต้องโต้แย้ง ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันทำให้เกิดนิยามคำตอบ และอะไรควรที่จะนำมาใช้ในสภาพห้องเรียนที่ต่างกัน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
Concurrent Curriculum
Concurrent Curriculum นั้น คือ หลักสูตรที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ซึ่งตามแนวคิดของ Posner ประกอบด้วยหลักสูตร 5 ประเภท ที่ต้องคำนึงถึง
1. Official Curriculum หรือ Formal Curriculum หรือ Written Curriculum จะเป็นหลักสูตรที่อยู่ในรูปของเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักสูตรแม่บท ประกอบด้วยขอบเขตและลำดับของการวางแผน (scope and sequence charts) สาระสำคัญ (syllabi) คำแนะนำของหลักสูตร (curriculum guides) โครงสร้างรายวิชา (course outlines) และการกำหนดจุดประสงค์ (lists of objectives) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของครูในการวางแผนบทเรียนและประเมินผลผู้เรียน เป็นพื้นฐานสำหรับผู้บริหารที่ใช้เป็นแนวทางในการรายงานผลการปฏิบัติและผลทีเกิดจากหลักสูตร
2. Operation Curriculum จะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยอาศัยความเข้าใจของครู อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจในหลักสูตรของครู ซึ่งจะประกอบด้วยสิ่งที่ครูจะสอนและวิธีที่จะสอน มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 เนื้อหาที่จะสอนในชั้นเรียนที่กำหนดโดยครู
2.2 ผลสำเร็จที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียน
3. Null Curriculum คือ เนื้อหาหรือสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ครูไม่ได้นำมาสอนหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
4. Hidden Curriculum คือ สิ่งที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้ทั้งทางบวกและทางลบ
5. Extra Curriculum เป็นหลักสูตรหรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดเพิ่มพิเศษมากกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เช่น การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมชุมนุม เป็นต้น
ระดับของหลักสูตร
แม็คนีล (McNeil, 1481) ได้อ้างถึงข้อเสนอของกู้ดแลด และคณะ (John I.Good and Others, 1979) เกี่ยวกับระดับของหลักสูตรว่ามี 5 ระดับดังนี้
1. หลักสูตรระดับอุดมการณ์ (Ideal Curriculum) หมายถึง หลักสูตรที่เป็นแนวคิดและข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของนักการศึกษา ซึ่งต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. หลักสูตรระดับปกติ (Formal Curriculum) เป็นหลักสูตรซึ่งได้ถ่ายทอดแนวความคิดของนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาเขียนเป็นเอกสารหลักสูตร และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
3. หลักสูตรระดับการรับรู้ (Perceived Curriculum) เป็นหลักสูตรตามความเข้าใจของผู้ใช้หลักสูตรที่ตีความมาจากเอกสารหลักสูตร จะเหมือนหรือต่างกันก็จะขึ้นอยู่กับการตีความของผู้นำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งมีความรู้พื้นฐานความเข้าใจหลักสูตรที่แตกต่างกัน
4. หลักสูตรระดับปฏิบัติการ (Operational Curriculum) เป็นหลักสูตรในระดับการนำไปใช้ในห้องเรียน
5. หลักสูตรระดับประสบการณ์ (Experiential Curriculum) เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากการเรียนการสอนอันเป็นหลักสูตรในระดับปฏิบัติการ นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์จากหลักสูตรแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ของแต่ละคน
Tyler ได้ยืนยันถึงคำถาม 4 ข้อที่นักพัฒนาหลักสูตรมักถามอยู่บ่อย ๆ ซึ่งคำถามเหล่านี้จะเกี่ยวกับการเลือกจุดมุ่งหมายทางการศึกษา การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผล ซึ่งแสดงได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
จุดประสงค์ทางการศึกษาที่โรงเรียนต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง?
2. การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
จะเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเหล่านั้น?
3. การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง?
4. การประเมินผล
จะประเมินผลได้อย่างไรว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิผล?
ซึ่งจากคำถามของ Tyler ทั้ง 4 ข้อนี้ Tyler เชื่อว่า จะต้องมีการถามอย่างเป็นลำดับ คำตอบของคำถามต่อมาจะเกี่ยวข้องกับคำตอบของคำถามที่มีมาก่อน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแบบเชิงเส้น (rationale – linear) นอกจากนั้น Tyler ยังได้วางกรอบในการตอบคำถามของเขาไว้อย่างเป็นระบบ ดังนี้
1. จุดมุ่งหมายทางการศึกษาที่โรงเรียนต้องการให้บรรลุมีอะไรบ้าง?
ก็คือการกำหนดวัตถุประสงค์ Tyler แนะนำว่า นักพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มค้นหาจุดประสงค์ทางการศึกษาโดยการเก็บข้อมูลจากสามแหล่ง
แหล่งข้อมูลนักเรียน : นักพัฒนาหลักสูตรควรเริ่มต้นค้นหาวัตถุประสงค์ทางการศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการและผลประโยชน์ของผู้เรียน ความต้องการทั้งหลายควรได้รับการศึกษา ทั้งด้านการศึกษา สังคม อาชีพ ความต้องเชิงกายภาพ จิตวิทยา และนันทนาการ Tyler แนะนำวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตของครู สัมภาษณ์นักเรียน สัมภาษณ์ผู้ปกครอง การใช้แบบสอบถามและเทคนิคการแบบสอบอื่นๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียน จากการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้นักพัฒนาหลักสูตรจะสามารถกำหนดจุดประสงค์ที่มีศักยภาพได้ชุดหนึ่ง
แหล่งข้อมูลสังคม: ขั้นตอนต่อไปในการกำหนดวัตถุประสงค์ตามที่ Tyler แนะนำคือการวิเคราะห์สภาพชุมชนทั้งในระดับท้องถิ่นและสังคมในระดับกว้าง โดยนักพัฒนาหลักสูตรต้องแบ่งแง่มุมการศึกษาออกไปหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพ ครอบครัว การพักผ่อนหย่อนใจ อาชีพ ศาสนา การบริโภค และบทบาทหน้าที่ของพลเมืองดีต่างๆ จากความต้องการของสังคมจะทำให้ได้วัตถุประสงค์ที่มีศักยภาพจำนวนมาก ซึ่งนักพัฒนาหลักสูตรต้องใช้ความสามารถในเชิงสังคมวิทยาอย่างชาญฉลาด หลังจากพิจารณาแหล่งข้อมูลจากสองแหล่งนี้แล้วก็จะได้จุดประสงค์ที่ยาวขึ้น
แหล่งข้อมูลจากข้อเสนอแนะเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา : จากนั้นนักพัฒนาหลักสูตรควรหันไปมองที่ตัวศาสตร์หรือเนื้อหาวิชา มีหลักสูตรต่างเกิดขึ้นมากมายตั้งแต่ปี 1950 จนถึงปัจจุบัน ดังนั้นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้นๆ เป็นหลักว่าจุดประสงค์ไหนสำคัญ จากแหล่งข้อมูลทั้งสามที่กล่าวมาแล้ว นักพัฒนาหลักสูตรจะได้ขอบเขตของจุดประสงค์ทั่วไปแต่ยังขาดความกระชับ และขอเรียกว่าเป้าหมายเรียนการสอน เป้าหมายการเรียนการสอนเหล่านั้นอาจเกี่ยวข้องโดยตรงเฉพาะศาสตร์หรือหลายศาสตร์
จากแหล่งข้อมูลทั้ง 3 แหล่ง จะได้วัตถุประสงค์จำนวนมาก ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ชั่วคราวดังนั้นจะต้องผ่านการกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ ปรัชญาการศึกษาและ จิตวิทยาการศึกษา เมื่อผ่านการกลั่นกรองครั้งที่สองก็จะได้จุดประสงค์ที่สมบูรณ์ ไทเลอร์อธิบายว่าจุดประสงค์ทางการศึกษา หมายถึง เป้าหมาย(Goal ) เป้าหมายการศึกษา ( Educational ends) จุดหมายการศึกษา ( Educational purposes ) และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม( Behavior Objective
การกลั่นกรองโดยใช้ปรัชญาการศึกษา : Tyler ได้แนะนำว่าแต่ละโรงเรียนควรจะร่วมกันสร้างปรัชญาการศึกษาของโรงเรียนและของสังคม มีการกำหนดค่านิยมที่แสดงออกถึงความสำคัญ ซึ่งเน้นเป้าหมายของประชาธิปไตย ดังนี้
1. ตระหนักถึงความสำคัญของมนุษย์ทุกคนโดยไม่เลือก เชื้อชาติ สัญชาติ สังคม และสถานะทางเศรษฐกิจ
2. ให้โอกาสแก่ทุกกลุ่ม ได้ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกกิจกรรม
3. กระตุ้นให้เกิดความหลากหลายแทนที่จะมีเรียกร้องบุคลิกเพียงแบบเดียว
4. ศรัทธาและเชื่อมั่นในสติปัญญา ในฐานะวิธีจัดการกับปัญหา แทนที่จะจัดการกับปัญหาโดยใช้อำนาจเผด็จการหรือคณาธิปไตย
การกลั่นกรองโดยใช้จิตวิทยา: ขั้นตอนต่อไปคือการกลั่นกรองทางจิตวิทยา การดำเนินการในขั้นตอนนี้ ครูต้องมีความชัดเจนว่าหลักการเรียนรู้ที่พวกเขาเชื่อนั้น ฟังดูมีเหตุผล Tyler กล่าวว่า “จิตวิทยาการเรียนรู้ ไม่ได้มีเพียงข้อค้นพบเฉพาะอย่างเท่านั้น แต่มันรวมถึงการสร้างทฤษฎีการเรียน ที่ช่วยให้แนวทางเกี่ยวกับธรรมชาติของกระบวนการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร ภายใต้เงื่อนไขอะไร มีกลไกใดทำงานได้บ้าง” โดยอธิบายว่า การทำงานในขั้นตอนนี้จะมีประสิทธิผล ถ้านักพัฒนาหลักสูตรได้รับการอบรมอย่างเพียงพอในเรื่องของจิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาพัฒนาการ
Tyler อธิบายความสำคัญของการกลั่นกรองทางจิตวิทยาว่า
1. สามารถช่วยให้เราจำแนกการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่คาดหวังได้ว่าเป็นผลมากจากกระบวนการเรียนรู้ ออกจาก การเปลี่ยนแปลงที่ไม่ได้เป็นผลมาจากการเรียนรู้ได้
2. สามารถช่วยให้เราจำแนกเป้าหมายที่เป็นไปได้ ออกจากเป้าหมายที่ไม่สามารถบรรลุผลได้สำหรับผู้เรียนในวัยนั้น
3. ให้แนวคิดบางอย่างแก่เราเกี่ยวกับความยาวของช่วงเวลาที่ต้องใช้ในการบรรลุจุดประสงค์หนึ่งและระดับอายุที่ความพยายามนั้นจะมีประสิทธิผลที่สุด
หลังจากผ่านการกลั่นกรองครั้งที่สองแล้วจุดประสงค์ทั่วไปที่กำหนดไว้ก็จะถูกลดทอนลงเหลือเพียงจุดประสงค์ที่สำคัญและเป็นไปได้ ซึ่งมักจะเขียนในรูปจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นจุดประสงค์การสอนในชั้นเรียนต่อไป
2. จะเลือกประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์เพื่อให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายเหล่านั้น?
หลังจากการเลือกวัตถุประสงค์แล้ว นักพัฒนาหลักสูตรจะต้องตัดสินในการตอบคำถามข้อที่ 2 เกี่ยวกับการเลือกสิ่งที่เรียกว่า “ประสบการณ์การเรียนรู้” ซึ่งประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่เขียนไว้ในลักษณะการวางแผนหลักสูตรและจัดให้นักเรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์
Tyler ได้ยืนยันว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ต้องได้รับการเลือกให้นักเรียนมีโอกาสเพียงพอที่จะสร้างประสบการณ์และเกิดความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ตามความต้องการของผู้เรียน และต้องให้ผู้เรียนได้รับความพึงพอใจ ซึ่ง Tyler ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ ดังนี้
1. ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
2. กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้นั้น ควรจะทำให้ผู้เรียนพอใจที่จะปฏิบัติตามพฤติกรรมที่ระบุไว้ในจุดประสงค์
3. กิจกรรมและประสบการณ์นั้นควรอยู่ในข่ายที่นักเรียนสามารถปฏิบัติได้
4. กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆด้าน ของผู้เรียนอาจนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
5. กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้เพียงหนึ่งอย่างอาจตอบสนองจุดประสงค์หลายๆข้อได้
ในการเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ Tyler ได้แนะนำว่า ครูควรให้ความสนใจกับประสบการณ์การเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. การพัฒนาทักษะการคิด
2. การช่วยให้ได้รับข้อสนเทศมา
3. การช่วยพัฒนาเจตคติเชิงสังคม
4. การช่วยพัฒนาประโยชน์หรือความสนใจของผู้เรียน
3. จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง?
ในการตอบคำถามข้อที่ 3 Tyler ได้แนะนำว่า ประสบการณ์การเรียนรู้ควรได้รับการจัดให้ถูกต้องและชัดเจน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือจะต้องเป็นวิธีการที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้บรรลุจุดมุ่งหมายอย่างแน่นอน และ Tyler เชื่อว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพถ้าจัดไว้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การเรียนรู้ควรมีลักษณะเป็นแนวตั้ง เริ่มจากง่ายไปหายาก และควรจะเสริมแรงโดยใช้กิจกรรมต่าง ๆ ในรายวิชาอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน และควรเน้นในประเด็นดังต่อไปนี้
นอกจากนั้น Tyler ยังเน้นเกี่ยวกับการพิจารณาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ว่าต้องคำนึงถึง
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ความสัมพันธ์ในแนวตั้ง ขององค์ประกอบหลักของหลักสูตรจากระดับหนึ่งไปยังอีกระดับหนึ่งที่สูงขึ้น เช่น ในวิชาทักษะ ต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน
2. การจัดลำดับ (Sequence) หมายถึง ความสัมพันธ์แนวตั้งของส่วนประกอบของหลักสูตร จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งที่ยาก ดังนั้นการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ควรจัดโดยมีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
3. การบูรณาการ (Integration) หมายถึง ความสัมพันธ์ในแนวนอนขององค์ประกอบหลักของหลักสูตร จากหัวข้อเนื้อหาหนึ่งไปยังอีกหัวข้อเนื้อหาหนึ่งของรายวิชา หรือรายวิชาหนึ่งไปยังอีกรายวิชาอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน
เพราะจะทำให้มีการสร้างประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้เรียนที่ต้องการไปสู่ขอบเขตของรายละเอียดในแต่ละครั้ง และมีความเป็นไปตามลำดับ ผู้เรียนก็จะสามารถบรรลุความสำเร็จ มีความเข้าใจในแนวคิดการบูรณาการในรายละเอียดใหม่เพิ่มขึ้น
4. จะประเมินผลได้อย่างไรว่า การจัดประสบการณ์การเรียนรู้มีประสิทธิผล?
ความคิดเกี่ยวกับการประเมินผลของ Tyler จะกำหนดความเหมาะสมระหว่างผลของวัตถุประสงค์เฉพาะและผลของผลสัมฤทธิ์ที่แท้จริง Tyler ได้เน้นถึงการประเมินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เรียนและการปฏิบัติที่ไม่ใช่การทดสอบเท่านั้น แต่ยังมีการใช้เทคนิคอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และตัวอย่างชิ้นงานของผู้เรียน
เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ สมควรจะมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
1. กำหนดจุดประสงค์ที่จะวัดและพฤติกรรมที่คาดหวัง
2. วัดและวิเคราะห์สถานการณ์ที่จะทำเกิดพฤติกรรมเหล่านั้น
3. ศึกษาสำรวจข้อมูลเพื่อสร้างเครื่องมือที่จะวัดพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างเหมาะสม
4. ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยใช้เกณฑ์พิจารณาดังนี้
4.1 ความเป็นปรนัย (Objectivity)
4.2 ความเชื่อมั่น (Reliability)
4.3 ความเที่ยงตรง (Validity)
ข้อดี
1. เป็นวิธีการที่ไม่มีความซับซ้อน มีความเป็นเส้นตรง (linear)
2. ใช้ปรัชญาการศึกษาและจิตวิทยาการศึกษาในการกลั่นกรองวัตถุประสงค์
3. เน้นการรับฟังความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ
4. ใช้การประเมินแบบ formative evaluation และมีวิธีการประเมินที่หลากหลาย
5. ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ใช้หลักเกณฑ์ คือ ความต่อเนื่อง การจัดลำดับ และการบูรณาการ
ข้อจำกัด
1. จะไม่มีการบอกวิธีการเลือกเนื้อหาว่ามีวิธีอย่างไร และไม่ได้บอกถึงการใช้แหล่งข้อมูลว่ามีวิธีการใช้อย่างไร
2. พูดในมุมมองที่กว้างเกินไป
3. ขาดความยืดหยุ่น
Taba’ s approach
Taba ได้ให้ทัศนะเรื่องการพัฒนาหลักสูตรไว้ดังนี้ “การพัฒนาหลักสูตรเป็นงานที่ต้องการความคิดที่เป็นระบบและเป็นลำดับขั้นตอนและมีความจำเป็นที่ต้องตรวจสอบทุกลำดับขั้นตอนของการตัดสินใจและวิธีการที่ใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าทุกการตัดสินใจได้ผ่านการพิจารณาที่สอดคล้องเหมาะสม” ในการพัฒนาหลักสูตรจึงควรวางรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรให้ชัดเจน เพื่อความถูกต้องเหมาะสมและสะดวกรวดเร็วเมื่อทำการสร้างหลักสูตร
Taba มีพื้นฐานความเชื่อ และเป้าประสงค์ เกี่ยวกับการคิด ดังนั้น Taba ได้ตั้งสมมติฐานในการคิด 3 ข้อ
1. การคิดสามารถสอนได้
2. การคิดเป็นการกระทำระหว่างบุคคลและข้อมูล
3. กระบวนการคิดเกิดเป็นขั้นตอน
รูปแบบของ Taba จะเน้นการมีส่วนร่วมของวัสดุในห้องเรียน ภาพถ่าย แผนผัง สามารถใช้เป็นการอ้างอิงในการเรียนการสอน โดยที่นักเรียนนำมาเป็นรูปแบบการคิดเชิงนิรนาม เป็นกระบวนการที่นักเรียนใช้อ้างอิงได้อย่างใกล้ตัว และเป็นการสอนวิธีคิดอย่างเป็นขั้นตอน
Step and Stage
ถึงแม้ว่า แนวคิดของทาบาจะมีพื้นฐานมาจากแนวคิด 4 ขั้นของ Tyler rationale แต่
ทาบาได้เพิ่มเป็น 7 ขั้น ดังนี้
1) สำรวจปัญหาความต้องการจำเป็นต่าง ๆ ของสังคม
2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
3) คัดเลือกเนื้อหาที่จะนำมาสอน
4) จัดลำดับเนื้อหา
5) คัดเลือกประสบการณ์เรียนรู้
6) จัดลำดับประสบการณ์การเรียนรู้
7) กำหนดวิธีการประเมินผลและแนวทางปฏิบัติ
กระบวนการการพัฒนาหลักสูตร ทาบา(Taba) ได้กล่าวถึง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ตามความเชื่อที่ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานแตกต่างกัน โดยกำหนดกระบวนการพัฒนาหลักสูตรไว้ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. วินิจฉัยความต้องการ: สำรวจสภาพปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นต่างๆ ของสังคม และผู้เรียน
2. กำหนดจุดมุ่งหมาย : หลังจากได้วินิจฉัยความต้องการของสังคมและผู้เรียนแล้วจะกำหนดจุดมุ่งหมายที่ต้องการให้ชัดเจน
3. คัดเลือกเนื้อหาสาระ : จากจุดมุ่งหมายที่กำหนด แล้วจะช่วยในการเลือกเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย วัย ความสามารถของผู้เรียน โดยเนื้อหาต้องมีความเชื่อถือได้ และสำคัญต่อการเรียนรู้
4. จัดเนื้อหาสาระ : เนื้อหาสาระที่เลือกได้ ยังต้องจัดโดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง และความยากง่ายของเนื้อหา วุฒิภาวะ ความสามารถ และความสนใจของผู้เรียน
5. คัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ : ครูผู้สอนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาวิชา และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
6. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ : ประสบการณ์การเรียนรู้ควรจัดโดยคำนึงถึงเนื้อหาสาระและความต่อเนื่อง นอกจากนั้น Taba ยังเน้นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน เพื่อเพิ่มระบบการคิดเชิงนิรนัยของนักเรียนโดยครูเป็นผู้ตั้งคำถามนำ เพิ่มเนื้อหาเพื่อดึงข้อมูลจากตัวนักเรียนได้ รวมทั้งสามารถรับรู้พื้นฐานของแต่ละคนได้ และเชื่อมองค์ความรู้ของแต่ละคนเข้าหากัน
7. กำหนดสิ่งที่จะประเมินและวิธีการประเมินผล : ตัดสินใจว่าจะต้องประเมินอะไรเพื่อตรวจสอบผลว่าบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ และกำหนดด้วยว่าจะใช้วิธีประเมินผลอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร และเน้นประเมินผลการคิดของนักเรียนเชิงสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาต่าง ๆ มีความยืดหยุ่น ตรวจสอบได้ ทั้งในระดับการวางแผน การออกแบบ หลักสูตรประสบการณ์
ข้อดี
1. สามารถนำแนวคิดของ Taba ไปใช้โดยให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่ Taba เสนอไว้
2. เครื่องมือที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่นจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิด ที่เน้นการคิดแบบอุปนัย
3. หลักสูตรมีความเป็นรูปธรรม สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรแม่บท
4. ให้ประสบการณ์ทั้งด้าน Cognitive Domain และ Affective Domain
5. สามารถอธิบายข้อแตกต่างของ planed curriculum , enacted curriculum และ experience curriculum
6. ช่วยขยายกรอบแนวคิดของ Tyler
ข้อจำกัด
1. หลีกเลี่ยงแนวคิดทางการเมือง
2. การสอนที่เน้นการคิดแบบอุปนัย ค่อนข้างที่จะใช้เวลามาก อาจจะทำให้สอนไม่ได้ครบทุกเนื้อหา
Walker’s Deliberative Approach
Deeker Walker มีความเชื่อว่า การพัฒนาหลักสูตรเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนในกระบวนการการพัฒนา การที่จะได้หลักสูตรที่ดี ต้องอาศัยความคิดความเห็นจากบุคคลหลายฝ่าย คณะผู้ร่างหลักสูตรต้องมีความเข้าใจในความซับซ้อนนั้น รูปแบบของการทำหลักสูตรที่ปฏิบัติจริง ชื่อว่า Naturalistic Model ซึ่งมี 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 จุดเริ่มต้น ( Platform )
เป็นขั้นพื้นฐานที่รวบรวม มโนมติ ความเชื่อ ทฤษฎี เป้าหมาย มโนภาพ วิธีการ โดยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุก ๆ ด้าน เข้ามาพูดคุย อภิปราย เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวของผู้เรียน โดย Walker ยึดหลักแนวคิดของ Schwab ที่ว่าคนมารวมกลุ่มกันทำงานเพราะมีความเชื่อและค่านิยมเดียวกัน แล้วตกลงร่วมกัน โดยมีการพูดคุย อภิปราย เกี่ยวกับสิ่งที่หลักสูตรควรจะเป็น ตามความเชื่อของ Walker สิ่งที่ประกอบขึ้นเป็นขั้นนโยบาย (Platform) ได้แก่ ความเชื่อ มโนทัศน์ ทฤษฎี จุดมุ่งหมาย ภาพลักษณ์ กระบวนการต่าง ๆ ในขั้นนี้จะมีการอภิปรายถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้ได้ความเชื่อออกมา
ระยะที่ 2 การดำเนินการพิจารณาอย่างรอบคอบ (Deliberation)
จากข้อมูลที่ได้ในขั้นที่ 1 ในขั้นนี้จะเป็นการจำแนกประเด็นข้อเท็จจริง มาพิจารณาอย่างรอบคอบละเอียดถี่ถ้วน มีการชั่งน้ำหนักความสำคัญว่าตัวเลือกไหนควรจะเลือก โดยจะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบในทุกประเด็น ผู้ที่เข้าร่วมอภิปรายจะต้องยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย มีการระบุข้อเท็จจริงที่ต้องการสำหรับการดำเนินการและจุดหมายปลายทาง มีการกำหนดทางเลือก พิจารณาลำดับขั้นและตัวเลือก กำหนดน้ำหนัก ลำดับความสำคัญ พยายามเลือกสิ่งที่มีข้อจำกัดน้อยที่สุด และสามารถชี้แจงรายละเอียดได้มากที่สุด ซึ่งในขั้นตอนนี้จะทำให้ได้ course of action
ระยะที่ 3 การออกแบบ (Design)
เมื่อได้ข้อตกลง ความเชื่อที่เพียงพอแล้วเกี่ยวกับ ความเชื่อ ความเป็นเหตุเป็นผลของปัญหา และการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ เพื่อจะดำเนินการได้อย่างเหมาะสม และสามารถปฏิบัติการโดยไม่มีการตัดสินใจทางเลือกอีกแล้ว กิจกรรมที่ทำให้บรรลุผลในระยะนี้ควรเป็นกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ของหลักสูตรซึ่งอาจรวมไปด้วย วิชาเฉพาะ การสอน อุปกรณ์การสอน หรือกิจกรรมกลุ่มที่สามารถแนะนำได้ จะทำให้ได้ planed curriculum
ข้อดี
1. รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร Walker พยายามที่จะทำให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นจริงระหว่างการพัฒนาหลักสูตร
2. วิธีการของ Walker พยายามแสดงให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างระหว่างการวางแผนหลักสูตร
3. คำอธิบายของ Walker แต่ละขั้นจะเป็น guide line ในการนำไปปฏิบัติใช้
4. มีการใช้ deliberation ในการระบุสถานการณ์ และให้น้ำหนักของปัญหาตลอดจนสิ่งที่เกี่ยวข้องที่อาจศึกษาได้หรืออาจจะศึกษาไม่ได้ในการวางแผนหลักสูตร
ข้อจำกัด
1. การใช้วิธีการนี้เหมาะที่จะใช้เฉพาะในโครงการใหญ่ ๆ เท่านั้น เพราะมีการใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ หรือความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลักสูตร หรือเนื้อหาที่ค่อนข้างมาก ทำให้ต้องใช้งบประมาณมาก และเวลามากเกินไป ในกรณีที่ต้องการใช้สร้างหลักสูตรในโครงการเล็ก ๆ ก็อาจจะไม่มีความคุ้มทุนหรือไม่มีความสะดวกถ้าใช้วิธีการนี้
2. ในช่วงของการพิจารณาหรือการเลือกข้อมูลนั้น จะไม่มีเกณฑ์หรือ Guideline แนะนำ แต่ละกลุ่มจะมีการคิดเอง ทำกันเอง
2. วิธีการของ Walker เน้นทิศทางไปสู่เฉพาะการออกแบบ curriculum แต่ไม่ได้อธิบายว่ามีอะไรเกิดขึ้นหลังจากออกแบบ curriculum แล้ว
Eisner’s Artistic Approach
Eisner ได้เสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร จะมีความคล้ายคลึงกับรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler) คือมีลักษณะเป็นเส้นตรง Eisner (Elliot W.Eisner) ได้แสดงให้เห็นถึงความจริงทางสังคม ว่ามีลักษณะดังนี้
1. negotiated ( ต่อรองกันได้ หรือเจรจากันได้ )
2. subjective (เป็นอัตตวิสัย )
3. constructed ( ผู้เรียนสร้างความเข้าใจด้วยตัวของตัวเอง )
4. multiple ( มีความหลากหลาย )
การพัฒนาหลักสูตรตามหลักของ Eisner มีแนวคิดว่าคนแต่ละคนสามารถสร้างความหมายได้หลายวิธี ผู้ที่เข้าไปตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตรก็เหมือนกับศิลปินที่จะต้องเลือกอะไรมากมายจึงจะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร ซึ่ง การพัฒนาหลักสูตรตามหลักของ Eisner นี้จะมีระยะที่ไม่ต่อเนื่องกัน สามารถทำระยะใดก่อนก็ได้ ซึ่งประกอบด้วยระยะต่าง ๆ 7 ระยะ ดังนี้
1) Goal and their priorities ในระยะนี้ Eisner เห็นว่าเป้าหมายอาจไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้เสมอไปก็ได้ และกิจกรรมบางกิจกรรมอาจไม่จำเป็นต้องกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ล่วงหน้าก็ได้ แต่มันสามารถเกิดขึ้นหลังจาการเรียนการสอนก็ได้ โดยเขาให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์ที่มีลักษณะเฉพาะน้อยลง เพราะจุดประสงค์ลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้เอง และการกำหนดเป้าหมายจะต้องดำเนินการโดยผู้ส่วนร่วม ด้วยวิธีการเสนอแนวคิด และการอภิปราย โต้แย้ง ประกอบการพิจารณา ไตร่ตรองอย่างรอบคอบ
2) Content of the curriculum Eisner ให้ข้อสังเกตในการเลือกเนื้อหา ที่จะนำมากำหนดไว้ในหลักสูตร ซึ่งคล้ายกับแนวคิดของ Tyler และ Walker ที่สามารถกำหนดเนื้อหาได้จาก 3 แหล่ง ดังนี้
1. จากความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
2. จากความสนใจและความต้องการของชุมชน
3. จากธรรมชาติของเนื้อหาวิชานั้น ๆ นั่นเอง
รวมทั้งจะต้องคำนึงถึง Null Curriculum ด้วย
3) Type of learning opportunities ซึ่ง Eisner ได้เสนอแนวคิด ไว้ ดังนี้
1. ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนจะต้องจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ผ่านกระบวนการวิธีการและกิจกรรมที่หลากหลาย อันจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์และเนื้อหาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียนนั้น จะต้องเป็นกิจกรรมที่มีความหมายต่อผู้เรียน และส่งเสริมให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4) Organization of learning opportunities แนวคิดสำคัญของ Eisner ประกอบด้วย
1. สร้างโอกาสในการเรียนรู้สำหรับผู้เรียน ครูจะต้องมีวิธีการสอนที่หลากหลาย และเน้นการนำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งในวิธีการสอนจะต้องประกอบด้วย สื่อ และกิจกรรมที่หลากหลาย ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน และเกิดประสบการณ์ที่สร้างสรรค์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้ในรูปแบบเครือข่าย (Spider Web) ได้โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะในแบบเชิงเส้น (linear) เท่านั้น
2. กระบวนการของโอกาสในการเรียนรู้มีความสำคัญกว่าผลการเรียนรู้
3. ครูมีหน้าที่อำนวยความสะดวก สร้างความสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนา ได้เต็มตามศักยภาพและเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนด
5) Organization of content area ขอบเขตเนื้อหาอาจได้จากความหลากหลายทางสังคม นโยบาย และภูมิปัญญาของปัจเจกบุคคล เพื่อนำมารวบรวม ผสมผสาน และบูรณาการเข้าด้วยกัน
6) Mode of presentation and mode of response การกำหนดรูปแบบในการนำเสนอ จะเป็นตัวกำหนดรูปแบบในการตอบสนอง ดังนั้น หากผู้สอนเลือกรูปแบบการนำเสนอแบบถามตอบ ผู้เรียนก็จะได้เรียนรู้จากการฟังคำถาม คิด และนำเสนอคำตอบที่ได้จากการคิด เป็นต้น ดังนั้น ผู้สอนจึงควรมีทางเลือกที่หลากหลายในการนำเสนอ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสในการตอบสนองที่หลากหลายเช่นเดียวกัน อันจะนำมาซึ่งทักษะที่เชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นของผู้เรียน
7) Types of evaluation procedures Eisner ได้เสนอแนะแนวทางของการวัดและประเมินผลไว้ ดังนี้
1. การวัดผลไม่ใช่กระบวนการสุดท้าย ในการพัฒนาหลักสูตร
2. การวัดผลเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. การประเมินตามสภาพจริง เป็นกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ตลอดระยะของการเรียนการสอน
ข้อดี
1. สามารถใช้ได้ถึง Enact Curriculum และ Experience Curriculum
2. การพิจารณาเนื้อหา คำนึงถึง Null Curriculum
3. วัตถุประสงค์ไม่เป็น Highly Objective จนเกินไป
4. ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่าง Plan Curriculum กับ Enact Curriculum ได้อย่างชัดเจน
5. ใช้การประเมินที่หลากหลาย
6. ใช้รูปแบบในการสอนที่เหมาะกับผู้เรียน ส่งผลให้ผู้สามารถตอบสนองออกมา ได้อย่างหลากหลาย
7. เน้นการบูรณาการ (Integrate) เท่าที่จะเป็นไปได้
8. ครอบคลุมองค์ประกอบของหลักสูตรทั้ง 4 องค์ประกอบ
ข้อจำกัด
1. มีการกำหนดขั้นตอนที่ไม่ตายตัว ยากต่อการนำไปปฏิบัติตาม
2. ไม่มีการกำหนดจุดประสงค์ที่ชัดเจน อาจเกิดความสับสนในระหว่างการสร้างหลักสูตรได้
3. การสอนแบบ spider web นั้นไม่มีวิธีสอนที่ชัดเจน ทำให้ครูต้องมีความคิดที่หลากหลายที่ต้องพัฒนา Mode of Presentation เพื่อให้ผู้เรียนเกิด Mode of Response ได้ดี
Curriculum Theorizing
Curriculum theorizing เป็นกระบวนการทั่วไปที่มีลักษณะเป็น ongoing process ซึ่งประกอบด้วย general process ดังนี้
1. เมื่อสัมผัสกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วจะพบว่ามีอะไรที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ
2. พยายามที่จะหาจุดซ้ำหรือประเด็นร่วมที่กำหนดความเป็นลักษณะเฉพาะที่เป็นภาพรวมของกลุ่ม
3. หาแบบที่แสดงถึงความสัมพันธ์กับบริบทของการสอน
กระบวนการสร้างหลักสูตร ประกอบด้วยการรวบรวมความคิดและการปฏิบัติเข้าด้วยกัน ดังนั้นความคิดและตัวแปรต่าง ๆ จึงมีความหลากหลายและซับซ้อน เนื่องจากหลักสูตรไม่สามารถยึดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งเป็นหลักได้ จึงต้องมีการผสมผสานแนวคิด (Eclecticism) ในการสร้างทฤษฎีหลักสูตร จะต้องมีการตอบคำถามใน 2 ลักษณะ คือ
1. คำถามในลักษณะ Open – ends ซึ่งเป็นคำถามที่เปิดกว้างมองได้หลายแง่มุม
2. คำถามในลักษณะ problematic เป็นคำถามที่หาข้อยุติได้ยากที่สุด
Curriculum Theorizing กับนักพัฒนาหลักสูตร
ทำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างทฤษฎีหลักสูตร จากความแตกต่างระหว่างทฤษฎีหลักสูตรกับทฤษฎีการสร้างหลักสูตร ปัญหาพื้นฐานก็คือ การสร้างทฤษฎีจะยึดแนวคิดใดแนวคิดหนึ่งไม่ได้ เพราะทั้งการสร้างทฤษฎีก็ล้วนมีบทบาทสำคัญที่เหมาะสม คือ ในขณะที่ทฤษฎีมุ่งเน้นที่รูปแบบทั่วไป การสร้างทฤษฎีเน้นไปยังสถานการณ์เฉพาะเจาะจง หลักสูตรควรจะสร้างจากผู้ที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรโดยตรง ได้แก่ ครูผู้สอน นักวิชาการ และสมาชิกของชุมชน ซึ่งบุคคลดังกล่าวจะต้องมีลักษณะ 3 ประการ คือ
1. มีความรู้สึกไวต่อรูปแบบที่ปรากฏขึ้นในสภาวะการณ์
2. พยายามพิจารณารูปแบบและประเด็นที่เหมือนกันออกเป็นลักษณะรูปแบบร่วมกัน
3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเข้ากับบริบทการสอนของบุคคล
ในฐานะที่จะเป็นนักหลักสูตร (Becoming better curriculum specialist) จะต้องเป็นผู้วางแนวทาง เป็นผู้นำเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีลักษณะทั้งสามอย่างนี้ จะได้จัดทำหลักสูตรได้ดีและเหมาะสมกับบริบทนั้นมากที่สุด เพราะ การสร้างทฤษฎีไม่ง่ายเพียงแค่ตอบคำถามเหล่านี้ได้ แต่ต้องมีว่าทำอย่างไรจึงจะมีอะไรที่เด่นชัดให้ประจักษ์โดยไม่ต้องโต้แย้ง ความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันทำให้เกิดนิยามคำตอบ และอะไรควรที่จะนำมาใช้ในสภาพห้องเรียนที่ต่างกัน และสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ
Concurrent Curriculum
Concurrent Curriculum นั้น คือ หลักสูตรที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ซึ่งตามแนวคิดของ Posner ประกอบด้วยหลักสูตร 5 ประเภท ที่ต้องคำนึงถึง
1. Official Curriculum หรือ Formal Curriculum หรือ Written Curriculum จะเป็นหลักสูตรที่อยู่ในรูปของเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหลักสูตรแม่บท ประกอบด้วยขอบเขตและลำดับของการวางแผน (scope and sequence charts) สาระสำคัญ (syllabi) คำแนะนำของหลักสูตร (curriculum guides) โครงสร้างรายวิชา (course outlines) และการกำหนดจุดประสงค์ (lists of objectives) โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นพื้นฐานของครูในการวางแผนบทเรียนและประเมินผลผู้เรียน เป็นพื้นฐานสำหรับผู้บริหารที่ใช้เป็นแนวทางในการรายงานผลการปฏิบัติและผลทีเกิดจากหลักสูตร
2. Operation Curriculum จะเป็นการนำหลักสูตรไปใช้ในสถานการณ์จริง โดยอาศัยความเข้าใจของครู อาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพื้นฐานความเข้าใจในหลักสูตรของครู ซึ่งจะประกอบด้วยสิ่งที่ครูจะสอนและวิธีที่จะสอน มี 2 ลักษณะ คือ
2.1 เนื้อหาที่จะสอนในชั้นเรียนที่กำหนดโดยครู
2.2 ผลสำเร็จที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียน
3. Null Curriculum คือ เนื้อหาหรือสิ่งที่ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ครูไม่ได้นำมาสอนหรือจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
4. Hidden Curriculum คือ สิ่งที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ในหลักสูตร แต่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เอง ซึ่งอาจจะเป็นความรู้สึกหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นได้ทั้งทางบวกและทางลบ
5. Extra Curriculum เป็นหลักสูตรหรือประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดเพิ่มพิเศษมากกว่าที่กำหนดไว้ในหลักสูตร เช่น การทำกิจกรรมเสริมหลักสูตร กิจกรรมชุมนุม เป็นต้น
ระดับของหลักสูตร
แม็คนีล (McNeil, 1481) ได้อ้างถึงข้อเสนอของกู้ดแลด และคณะ (John I.Good and Others, 1979) เกี่ยวกับระดับของหลักสูตรว่ามี 5 ระดับดังนี้
1. หลักสูตรระดับอุดมการณ์ (Ideal Curriculum) หมายถึง หลักสูตรที่เป็นแนวคิดและข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของนักการศึกษา ซึ่งต้องการให้ผู้เรียนมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. หลักสูตรระดับปกติ (Formal Curriculum) เป็นหลักสูตรซึ่งได้ถ่ายทอดแนวความคิดของนักการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาเขียนเป็นเอกสารหลักสูตร และถูกประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
3. หลักสูตรระดับการรับรู้ (Perceived Curriculum) เป็นหลักสูตรตามความเข้าใจของผู้ใช้หลักสูตรที่ตีความมาจากเอกสารหลักสูตร จะเหมือนหรือต่างกันก็จะขึ้นอยู่กับการตีความของผู้นำหลักสูตรไปใช้ ซึ่งมีความรู้พื้นฐานความเข้าใจหลักสูตรที่แตกต่างกัน
4. หลักสูตรระดับปฏิบัติการ (Operational Curriculum) เป็นหลักสูตรในระดับการนำไปใช้ในห้องเรียน
5. หลักสูตรระดับประสบการณ์ (Experiential Curriculum) เป็นหลักสูตรที่เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดจากการเรียนการสอนอันเป็นหลักสูตรในระดับปฏิบัติการ นักเรียนแต่ละคนจะได้รับประสบการณ์จากหลักสูตรแตกต่างกันไปทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้ของแต่ละคน
2/05/2553
การหา Needs Assessment และแนวทางการเขียน
ลักษณะความต้องการจำเป็น ความต้องการจำเป็นขององค์กร
วิธีการ Focus Group Discussion
หัวข้อ หลักสูตรอบรมส่งเริมวัฒนธรรมการเรียนรู้
บนรากฐานพุทธปรัชญา
ที่มาของหลักสูตร
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. หมวด มาตรา และหมวด มาตรา ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ”จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา จากปัจจัยข้างต้นทำให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องตระหนักถึงและร่วมมือร่วมใจเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ในปี พ.ศ. 2552 นี้ สำนักงานคณะอนุกรรมการอุดมศึกษา รณรงค์ให้ปี แห่งการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2556) และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551
ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา จัดการบนพื้นฐานพุทธวิทยาการศึกษา ใช้คุณธรรมคือ ไตรสิกขา เป็นพื้นฐานการผลิตบัณฑิตควบคู่ไปกับวิทยาการเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งคุณลักษณะผู้เรียนตามความมุ่งหมายแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ศีล (ดี) สมาธิ (สุข) และปัญญา (เก่ง) (มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, มปป : 1) ฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงต้องเรียนวิชาเฉพาะทางพระพุทธศานา จำนวน 30 หน่วยกิจ ทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายการจัดการศึกษาแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าและผู้ช่วยฝ่ายต่าง ๆ จำนวน 6 รูป\คน ได้แก่ฝ่ายแผนและงบประมาณ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกิจการนักศึกษา ฝ่ายทะเบียนและวัดผล และฝ่ายจัดการศึกษา จึงจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามหลักสูตร โดยปฎิบัติตามขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระบุความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และ กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็น (สุวิมล วิองวานิช,2548:83) ได้ความจำเป็น คือ “ส่งเสริมการเรียนรู้บนรากฐานพุทธปรัชญา” จากการวิเคราะห์แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา คือการจัดอบรม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ จึงพัฒนาหลักสูตรและจัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษด้านการเรียนรู้ตามปริบทของการจัดการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม โดยอย่างยิ่งนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนในระบบการจัการศึกษาที่ต้องเรียนกับพระภิกษุสงฆ์ และจะต้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาตลอดหลักสูตร จะได้ปรับตัวกับวิธีการเรียนและแนวทางปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในมหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมถึงการตระหนักในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมด้วย ในฐานะที่ศึกษาวิชาพระพุทธศานาและใกล้ชิดกับศาสนา
วิธีการ Focus Group Discussion
หัวข้อ หลักสูตรอบรมส่งเริมวัฒนธรรมการเรียนรู้
บนรากฐานพุทธปรัชญา
ที่มาของหลักสูตร
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. หมวด มาตรา และหมวด มาตรา ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ”จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ทุกวิชา จากปัจจัยข้างต้นทำให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งต้องตระหนักถึงและร่วมมือร่วมใจเพื่อพัฒนาคุณภาพบัณฑิตให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง ในปี พ.ศ. 2552 นี้ สำนักงานคณะอนุกรรมการอุดมศึกษา รณรงค์ให้ปี แห่งการพัฒนาบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 แผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2556) และนโยบายด้านการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบันที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551
ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเฉพาะทางพระพุทธศาสนา จัดการบนพื้นฐานพุทธวิทยาการศึกษา ใช้คุณธรรมคือ ไตรสิกขา เป็นพื้นฐานการผลิตบัณฑิตควบคู่ไปกับวิทยาการเฉพาะสาขาวิชา ซึ่งคุณลักษณะผู้เรียนตามความมุ่งหมายแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้แก่ ศีล (ดี) สมาธิ (สุข) และปัญญา (เก่ง) (มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, มปป : 1) ฉะนั้น ผู้ที่จะเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงต้องเรียนวิชาเฉพาะทางพระพุทธศานา จำนวน 30 หน่วยกิจ ทุกสาขาวิชาที่เปิดสอน
เพื่อพัฒนาให้นักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามความมุ่งหมายการจัดการศึกษาแห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ด้วยเหตุนี้ หัวหน้าและผู้ช่วยฝ่ายต่าง ๆ จำนวน 6 รูป\คน ได้แก่ฝ่ายแผนและงบประมาณ ฝ่ายบุคคล ฝ่ายกิจการนักศึกษา ฝ่ายทะเบียนและวัดผล และฝ่ายจัดการศึกษา จึงจัดประชุมเพื่อวิเคราะห์หาความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะตามหลักสูตร โดยปฎิบัติตามขั้นตอน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระบุความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และ กำหนดทางเลือกในการแก้ปัญหาความต้องการจำเป็น (สุวิมล วิองวานิช,2548:83) ได้ความจำเป็น คือ “ส่งเสริมการเรียนรู้บนรากฐานพุทธปรัชญา” จากการวิเคราะห์แนวทางเลือกในการแก้ปัญหา คือการจัดอบรม มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้มากที่สุด
ด้วยเหตุนี้ จึงพัฒนาหลักสูตรและจัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษด้านการเรียนรู้ตามปริบทของการจัดการศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับคุณธรรม โดยอย่างยิ่งนักศึกษาใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการเรียนในระบบการจัการศึกษาที่ต้องเรียนกับพระภิกษุสงฆ์ และจะต้องเรียนวิชาพระพุทธศาสนาตลอดหลักสูตร จะได้ปรับตัวกับวิธีการเรียนและแนวทางปฏิบัติตัวที่เหมาะสมในมหาวิทยาลัยสงฆ์ รวมถึงการตระหนักในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมด้วย ในฐานะที่ศึกษาวิชาพระพุทธศานาและใกล้ชิดกับศาสนา
1/12/2553
การออกแบบการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำแนวคิดโมเดลการพัฒนาหลักสูตรที่เรียนมา เสนอรูปแบบที่สามารถใช้ได้ในบริบทของนักศึกษาที่มีดีมากที่สุด และ จุดด้อยน้อยที่สุด พร้อมทั้งการอธิบาย ได้นำโมเดลของใครมา
ตัวอย่างของโมเดลการพัฒนาหลักสูตร เช่น
นักศึกษาพัฒนาโมเดลการพัฒนาหลักสูตรโดยอาศัยความรู้จากโมเดลต่างที่เรียนมา โมเดลที่สร้างขึ้นมานั้นให้มีจุดอ่อนมากที่สุด และบอกที่มาแต่ละขั้นตอนด้วย
ตัวอย่างของโมเดลการพัฒนาหลักสูตร เช่น
หลักสูตรการเรีนยรู้บนรากฐานพุทธปรัชญา
ภาพที่ 1 โมเดลการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้บนรากฐานพุทธปรัชญา
12/03/2552
องค์ประกอบของหลักสูตร
นักศึกษาดาวน์โหลดคู่มือของหลักสูตรปฐมวัย ปี พ.ศ. 2546 ได้ที่นี่
http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_02.HTM
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนและการศึกษาค้นคว้า
อ. พินโย
http://school.obec.go.th/sup_br3/cr_02.HTM
เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการเรียนและการศึกษาค้นคว้า
อ. พินโย
11/25/2552
ความหมายของหลักสูตร
ความหมายของหลักสูตร
ความหมายนิยามความหมายของหลักสูตร ยังหาข้อสรุปไม่ได้ อย่างไรก็ตามจะขอนิยามหลักสูตรที่นักพัฒนาหลักสูตรได้นิยามไว้
1. โบแชมป์ (Beachamp 1981:61-62) นิยามความหมายครอบคลุม 3 ขอบเขต คือ
- เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง
- เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาที่จัดทำขึ้นอย่างเป็นทางการ
- เป็นระบบการทำงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร
- หลักสูตรหมายถึงประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียนในความรับผิดชอบของสถาบันหนึ่ง
- หลักสูตรหมายถึงแผนประสบการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนการสอน หรือ ก่อนการปฏิบัติจริงในโครงการใดก็ตาม
ในปี ค.ศ. 1957 Smith “ชุดของความต่อเนื่องของประสบการณ์ที่มีศักยภาพที่จัดขึ้นในโรงเรียน เพื่อความมุ่งหมายในการทำให้กลุ่มเด็ก และเยาวชนมีวิธีการคิดและการกระทำ”
- ค.ศ. 1959 Good “แผนงานโดยรวมทั่วไปของเนื้อหาสาระหรือวัสดดการเรียนการสอนที่โรงเรียนควรให้กับผู้เรียน เพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะได้รับปริญญาหรือประกาศนียบัติ หรือ เพื่อการสอบคัดเลือกเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ”
- ค.ศ. 1962 Taba แผนสำหรับการเรียนรู้
- ค.ศ. 1969 Foshay ประสบการณ์ทั้งหมดที่ผู้เรีนยมีภายใต้การแนะนำของโรงเรียน
- ค.ศ. 1975 Tanner and Tanner “ประสบการณ์การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ที่ได้รับการแนะแนวและวางแผนไว้ ที่ถูกสร้างขึ้นผ่านการปฏิรูปความรู้และประสบการณ์อย่างเป็นระบบ ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีสรรถนะด้านบุคคล สังคม ที่ต่อเนื่อง และสมบูรณ์
- Connelly and Clandinnin ค.ศ. 1988 หลักสูตรมักจะมองว่าเป็นรายวิชาในการศึกษา แต่คิดอย่างมีความหมายกว้งขึ้นกว่านั้น หลักสูตรกลายเป็นรายวิชาของชีวิตของการกระทำของบุคคลหนึ่ง เป็นประสบการณ์ชีวิตของบุคคล
- Oliver (2001) กล่าวว่า การให้นิยามของหลักสูตรเป็นปัญหาเชิงแนวคิด เขาแบ่งนิยามหลักสูตรที่พบออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- นิยามในจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
- นิยามในลักษณะบริบทของหลักสูตร
- นิยามในลักษณะยุทธศาสตร์ของหลักสูตร
คำถาม
- นักศึกษานิยามหลักสูตรในบริบทของตนเองว่าอย่างไร
- เหตุใดการนิยามหลักสูตรมีความความแตกต่างกัน ให้เหตุผล
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)